วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 1 การออกเสียงภาษาอังกฤษ


1.การออกเสียงภาาาอังกฤษ

27 เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษ


1. คำที่ลงท้ายด้วย -OUS
จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “อัส” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่ส” (เสียงต่ำลงมาอีกหนึ่งสเต็ป) เช่น Famous จากเดิม เฟ-มัส เปลี่ยนเป็น เฟ๊-เหมิ่ส (พยางค์สองเสียงต่ำลงมาหนึ่งสเต็ป) หรืออีกคำ Dangerous จากเดิม แดน-เจอ-รัส เปลี่ยนเป็น แด๊น-เจอะ-เหริส
2. คำที่ลงท้ายด้วย -ing
ส่วนใหญ๋คำกริยา เรามักจะออกเสียงว่า “อิ้ง” ให้ลดเสียงลงมาอีกหนึ่งสเต็ป เป็น “อิ่ง” เช่น Going เดิมออกเสียง โก-อิ้ง ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น โก๊-อิ่ง, Reading จากเดิม รี๊ด-ดิ้ง เปลี่ยนเป็น รี๊ด-ดิ่ง, Comimg จากเดิม คัม-มิ้ง ขอออกเสียงสำเนียงเลิศๆ ว่า คั๊ม-หมิ่ง
3. คำที่ลงท้ายด้วย -ture
ออกเสียงผิดกันประจำ ปกติคนไทยออกเสียง “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนให้ถูกต้องเป็น “เฉ่อร์” เช่น Picture เดิม พิค-เจ้อร์ เปลี่ยนเป็น พิค-เฉ่อร์ อย่างไปที่รังสิตต้องเจอ Future ไม่เอา ฟิว-เจ้อร์ แล้ว ออกเสียงเก๋ๆ เป็น ฟิว-เฉ่อร์ เลิศค่ะ!!!
4. คำที่ลงท้ายด้วย -ly หรือ -ry
ที่เราจะออกเสียงว่า “ลี่” (จริงๆ ตัว R กับ L ถ้าให้ออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องว่ากันยาว) ให้เปลี่ยนเป็น “หลี่” แทน เช่น Ferry เดิมออกเสียง เฟอ-รี่ เปลี่ยนเป็น เฟ-หรี่ รับรองเหมือนฝรั่งเด๊ะ!
5. คำที่ลงท้ายด้วย -tion
ปกติเราออกเสียงว่า “ชั่น” ให้เปลี่ยนเป็น “เฉิ่น”แทน เช่น Position เดิมคือ โพ-ซิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น โพ-ซิ-เฉิ่น , Partition เดิม พาร์-ทิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น พาร์-ทิ-เฉิ่น หรือคำยาวๆ เช่น Reputationw ไม่ออกเสียง เรพ-พิว-เท-ชั่น ให้พูดว่า เรพ-พิว-เท-เฉิ่น
6.คำที่ลงท้ายด้วย -ile
ปกติเราจะออกเสียงแค่พยางค์เดียว “อายล์” แต่ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ ต้องออกเสียง 2 พยางค์ว่า “อายล์-เอิว์ล” เช่น Smile เดิมออกเสียง สะ-มายล์ เปลี่ยนเป็น “สะ-มายล์-เอิว์ลล” ใครได้ยินต้องร้องโอ้โห!!
7. คำที่ลงท้ายด้วย -er หรือ -or
ที่เรามักออกเสียงกัน “เอ้อ” เปลี่ยนละ ลดคีย์ลงหนึ่งสเต็ป ให้ออกเสียงว่า “เอ่อร์” แทน เช่น Farmer เดิมออกเสียง ฟาร๋ม-เม้อ เปลี่ยนนิดเดียวเป็น ฟาร๋ม-เหม่อร์, Tutor ถ้าสำเนียงไทยจัดๆ ออกเสียง ติว-เต้อร์ ลองเปลี่ยนให้ดีขึ้นมาอีกนิด ทิว-เท้อร์ หรือเอาให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ให้ออกเสียง ทิว-เถ่อร์ ( ลดคีย์พยางค์หลังลงหนึ่งสเต็ป)
8. คำที่ลงท้ายด้วย -ment
จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “เม้นท์” ให้เปลี่ยนลดเสียงต่ำลงเป็น “เหม่นท์” แทน เช่นคำนี้ที่เจออยู่บ่อยๆ Comment จากเดิมเราอ่านว่า คอม-เม้นท์ ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น “ค่อม-เหม่นท์”เก๋กว่าเยอะ
9. คำที่ลงท้ายด้วย -our
คนไทยมักออกเสียงผิด โดยการออกเสียงพยางค์เดียวว่า “เอาร์” จริงๆ ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะนั้นจะต้องออกเสียง 2 พยางค์ “เอ้า-เหว่อ” เช่น Sour เดิม เซาร์ เปลี่ยนเป็น เซ้า-เหว่อ, Hour เจอบ่อยๆ เลย เปลี่ยนจาก เอาร์ เป็น “เอ้า-เหว่อ”
10.คำที่ลงท้ายด้วย -um
ถ้าออกเสียงแบบปกติคือ “อั้ม” ซึ่งฟังพอเข้าใจ แต่ถ้าอยากให้สำเนียงเลิศแบบสุดติ่ง ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ม” เช่น Forum จาก ฟอ-รั่ม เป็น ฟอ-เหริ่ม, Serum ที่เรามักออกเสียงผิดแบบหนักๆ กันว่า ซี-รั่ม จริงๆ ต้องออกเสียงว่า “เซีย-เหริ่ม”
11. คำที่ลงท้ายด้วย -sion
เชื่อว่าคนไทยเกินล้านคนออกเสียงว่า “ชั่น” ซึ่งที่ที่ควรต้องออกเสียงว่า “เฉิ่น” เช่น Mansion ไม่ใช่ แมน-ชั่น ต้องออกเสียงว่า แมน-เฉิ่น , Desicion ก็ไม่ใช่ ดี-สิ-ชั่น ต้องออกเสียงว่า ดิ-ซิ-เฉิ่น
12. คำที่ลงท้ายด้วย -ral
เรามักออกเสียงกันว่า “รัล” (เร่า) แต่จริงๆควรออกเสียงว่า “เริล” เช่น น้ำแร่ Mineral ไม่เอา มิ-เนอ-รัล ละให้เปลี่ยนเป็น มิ-เหน่อ-เริล
13. คำที่ลงท้ายด้วย -ire
ที่เรามักออกเสียงกันพยางค์เดียว “อาย” ให้ออกเสียงเป็น 2 พยางค์ “อาย-เย้อร์” เช่น Fire เดิมๆ เคยออกเสียง ฟาย ให้เปลี่ยนเป็น ฟาย-เย้อร์ หรือ Tire จากเดิม ทาย เปลี่ยนเป็น ทาย-เย้อร์ สำเนียงเป๊ะมาก!
14. คำที่ลงท้ายด้วย -el
คำนี้คนไทยออกเสียงผิดกันเยอะมาก เพราะชอบออกเสียงว่า “เอล” เช่น Model ออกเสียง โม-เดล ฝรั่งฟังแทบไม่ออกบอกเลย จริงๆ คำที่ลงท้ายว่า -el ไม่ใช่ “เอล” แต่เป็น “โอ็ล” ต่างหาก เช่น Model ออกเสียงว่า เม๊าะ-โด็ล , Level ไม่ใช่ เล-เวล ต้องออกเสียงว่า เล๊ะ-โฝว็ล
15. คำที่ลงท้ายด้วย -ant
(เฉพาะคำสองพยางค์ขึ้นไป) เดิมปกติเราออกเสียงว่า “แอ๊นท์” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่นท์” เช่น Important จากเดิม อิม-พอ-แท๊นท์ ให้เปลี่ยนเป็น อิม-เพาะ-เทิ่นท์, Mutant เดิมออกเสียง มิว-แท๊นท์ ก็เปลี่ยนเป็น มิว-เทิ่นท์ หรือคำยาวๆ อย่าง Participant พา-ทิ-ซิ-แพ๊นท์ ก็แค่เปลี่ยนพยางค์สุดท้ายเป็น พา-ทิ-ซิ-เพิ่นท์
16. คำที่ลงท้ายด้วย -ger
ที่เรามักใส่กันสุดคำว่า “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนเป็นแค่ “เจ่อะ” พอค่ะ เช่น Manager หลายคนอ่านกันว่า แม-เน-เจ้อร์ แต่ที่ถูกต้องคือ มะ-หนิด-เจ่อะ , Ledger ไม่ใช่ เล็ด-เจ้อร์ แค่ เล็ด-เจ่อะ พอแล้ววววว ..
17. คำที่ลงท้ายด้วย -om
เราออกเสียงกันแบบไทยสไตล์ว่า “อ้อม” แต่จริงๆ แค่ “เอิ่ม” ก็พอ เช่น รณรงค์ให้ใช้ถุงยาง Condom ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ Condom มิใช่ คอน-ด้อม ออกเสียงแบบฝรั่งคือ ค๊อน-เดิ่ม , Random เปลี่ยนจาก แรน-ด้อม เป็น แรน-เดิ่ม , Bottom เดิมๆ คือ บ๊อต-ท่อม ต้องออกเสียงเป็น บ๊อต-เถิ่ม สำเนียงดีมากเลยนะ รู้ยัง!
18. คำที่ลงท้ายด้วย -ton (2 พยางค์ขึ้นไป)
ปกติชอบออกเสียงกันแบบไทยๆ ว่า “ต้อน” จริงๆ ออกเสียงแบบฝรั่ง ต้องออกว่า “เทิ่น” ต่างหาก! เช่น Cotton Bud เราออกเสียงกันว่า คัท-ตั้น-บัด จริงๆ ต้อง “คัท-เทิ่น-บัด” , Carton ก็ไม่ใช่ คาร์-ต้อน เปลี่ยนเป็น คาร์-เทิ่น
19.คำที่ลงท้ายด้วย -ure (บางคำ)
หลายๆ คำ เรามักเจอบ่อยๆ เช่น Pure, Cure, Secure ไรงี้ คำลงท้ายด้วย -ure เราชอบออกเสียงกันว่า “เอียว” เช่น Pure ออกเสียงว่า เพียว ซึ่งไม่ถูก (แต่ก็ไม่มาก ฝรั่งพอฟังออก) แต่ถ้าจะให้แบบถูกต้องก็คือ “พเยอร์” อ่านว่า พะ-เยอร์ ต้องควบคุมเสียงหรือออกเสียงเร็วๆ ให้เหมือนเป็นพยางค์เดียว ดังนั้น Cure ก็ไม่ใช่ เคียว ต้องเป็น คเยอร์ .. โอ้ว! สำเนียงไฮโซเว่อร์
20. คำที่ลงท้ายด้วย -us
โดยปกติเราชอบออกเสียงว่า “อัส” ไม่ก็ “อุส” แต่ถ้าจะให้เป็นสำเนียงฝรั่งจริงๆ ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ส” เช่น Status เดิมๆ ออกเสียงว่า สะ-เต-ตัส เปลี่ยนเป็น สะ-เต-เทิ่ส, ปลาหมึกยักษ์ Octopus เราจะไม่ออกเสียงว่า อ๊อก-โต-พุส ต่อจากนี้ให้ออกเสียงว่า อ๊อก-เถอะ-เผิส
21. คำที่ลงท้ายด้วย -land
เจอปุ๊บ ออกเสียง “แลนด์” ปั๊บ! ซึ่งฝรั่งจะไม่ออกเสียงงี้ แต่เขาจะออกเสียงว่า “เลิ่นด์” เช่น Scotland ออกเสียงที่ถูกคือ สก๊อต-เลิ่นด์ , New Zealand ก็ออกเสียง นิว-ซี๊-เลิ่นด์ ยกเว้นคำว่า Thailand กับ Foodland นะจ๊ะ
22.คำที่ลงท้ายด้วย -en
เราชอบออกเสียงกันว่า “เอ้น” จริงๆ ต้องออกเสียงว่า “อึ่น” เช่น Garden เดิมๆ คือ การ์-เด้น แต่ถ้าจะเอาให้ฝรั่งเก็ทก็ต้องออกเสียงว่า การ์-ดึ่น , Kitten ลูกแมว ก็ไม่เอา คิท-เท่น ที่ดีงามต้องเป็น คิท-ทึ่น หรือ Kitchen ก็ไม่ คิท-เช่น ละต้องเป็น คิท-ฉึ่น
23. คำที่ลงท้ายด้วย -ard 
(ตั้งแต่ 2พยางค์ขึ้นไป) เรามักออกเสียง “อาร์ด” กัน ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่! ฝรั่งออกเสียงกันว่า “เอิด” เช่น Wizard ไม่ใช่ วิ-สาร์ด ที่ถูกต้องคือ วิ-เสิด, จิ้งจก :Lizard ก็ไม่ใช่ ลิ-สาร์ด ออกเสียงเป็น ลิ-เสิด แม้กระทั่ง Standard จากเดิม สะ-แตน-ดาร์ด จริงๆ คือ สะ-แตน-เดิด
24. คำที่ลงท้ายด้วย -le
ที่เราออกเสียงกันแบบคุ้นปากตั้งแต่เด็กๆว่า “เอิ้ล” ซี่งจริงๆต้องพูดว่า “โอ็ล” แบบเสียงสั้นๆ เช่น Table ใครก็รุ็ว่าอ่านว่า เท-เบิ้ล แต่ที่ถูกก็คือ เท-โบ็ล, Double เปลี่ยนจาก ดับ-เบิ้ล เป็น ดึ่บ-โบ็ล , สายเคเบิ้ล Cable ก็ให้ออกเสียงใหม่เป็น เค๊-โบ็ล
25. คำที่ลงท้ายด้วย -ley
เราชอบออกเสียง “เล่” แต่ที่ถูกต้องคือ “ลี่” เช่น รถเข็น Trolley ก็ไม่ใช่ โทรล-เล่ ที่ถูกคือ ทรอ-หลี่, เพลง Medley ก็ไม่ใช่ เมดเล่ ต้องออกเสียงว่า เม็ด-ลี่ พยางค์แรกออกเสียงสั้นด้วยนะ
26. คำที่ลงท้ายด้วย -ian
ที่เรามักเจอในความหมายว่าเป็น “นัก” ต่างๆ แล้วชอบออกเสียงงว่า เชี่ยน ให้เปลี่ยนเป็น เฉิ่น จะสุดยอดกว่า! เช่น นักมายากล Magician ไม่ เม-จิก-เชี่ยน ละ เปลี่ยนเป็น เม๊-จิ-เฉิ่น , นักดนตรี Musician มิว-สิค-เชี่ยน เปลี่ยนเป็น มิว-ซิ-เฉิ่น
27. คำที่ลงท้ายด้วย -oil
ดูเหมือนไม่มีอะไร เพราะเราอ่าน “ออย” กันอยู่แล้ว แต่ที่จริงต้องออกเสียง 2 พยางค์ “ออย-เยิ่ล” เช่น น้ำมัน Oil ออกเสียงว่า ออย-เยิ่ล , soil ดิน ไม่แค่ ซอย แต่ต้อง ซอย-เยิ่ล , ต้มน้ำจนเดิอด boil ก็ต้อง บอย-เยิ่ล
ที่มา ... http://teen.mthai.com/education/108473.html

การออกเสียง s , z
เสียง S กับ Z ออกเสียงต่างกันอย่างไร ปกติ S จะออกเหมือนเสียงงูเวลาขู่  สสสสสส โดยที่เมื่อจับที่คอหรือตรงลูกกระเดือนจะไม่รู้สึกถึงอาการสั่น   แต่เวลาออกเสียง Z จะเหมือนเสียงผึ้ง ซซซซซซ โดยจะมีอาการสั่นที่คอหรือลูกกระเดือก ถ้าไม่สั่นนี่ถือว่าไม่ใช่เสียง Z ภาษาอังกฤษที่มี S ขึ้นต้นคำส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นเสียง S หรือ soft Sเช่นคำว่า sun, sea, soon, silver, etc. แต่เมื่อ S ไปอยู่ภายในคำบางคำ S ตัวนั้นจะออกเป็นเสียง Z หรือ hard S เช่นคำว่า easy
                สมมติว่า ส.แทนเสียง S และ ซ.แทนเสียง Z เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ดังนั้น easy จึงอ่านว่า อีซี่ ไม่ใช่ อีสี่   มีตัวอย่างคำอื่นๆอีกดังนี้ค่ะ
                                Busy       อ่านว่า    บีซี่
                                Result    อ่านว่า   รีซัลทฺ
                                present อ่านว่า    พรี เซ้นทฺ
                                was         อ่านว่า   วัซ
                                as            อ่านว่า   แอ้ซ     (ไม่ใช่   แอ้ส)
                                does       อ่านว่า   ดาซ
                                lose         อ่านว่า   ลูซ
                                raise       อ่านว่า   เรซ
                แต่เมื่อ s ไปอยู่ท้ายคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ที่มีการเติม s หรือ es ที่คำนาม เพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ หรือเติมที่คำกริยาเพื่อบอกว่าเป็น present simple tense ในลักษณะนี้ s ออกเสียงได้ 3 แบบ คือ   /s/   /z/   /iz/   โดยหลักในการออกเสียงทั้ง 3 ตัวมีดังนี้ค่ะ
                1. ออกเป็นเสียง /s/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ f, k, p, t, thพยัญชนะพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม voiced sound หรือพยัญชนะเสียงไม่ก้อง เมื่อเจอพยัญชนะต่อไปนี้ ให้ออกเสียง /s/ ค่ะ เช่น
                                books          ออกเสียงเป็น     บุ๊คสฺ
                                rats              ออกเสียงเป็น     แร็ทสฺ
                                caps             ออกเสียงเป็น     แค้ปสฺ
                2. ออกเป็นเสียง /z/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงก้องต่อไปนี้ b, d, g, m, n, z, l, r, w, y, v เช่น
                                beds             ออกเสียงเป็น              เบ้ดซฺ
                                kids              ออกเสียงเป็น            คิดซฺ
                                eyes             ออกเสียงเป็น              อายซฺ
                3. ออกเสียงเป็น /iz/ ซึ่งก็คือเสียง อึซเมื่อคำศัพท์นั้นเติม es เช่น
                                buses            ออกเสียงเป็น   บัส-สึซ
                                pushes          ออกเสียงเป็น   พุช-ชึซ
                                watches        ออกเสียงเป็น   ว้อช-ชึซ
ที่มา http://www.pasaangkit.com



2.การลงเสียงเน้นหนักในคำ
การ stress คำในภาษาอังกฤษ
เวลาที่ต้องพูดกับฝรั่งทีไร ต้องเกิดปัญหาเราฟังฝรั่งไม่รู้เรื่อง (อันนี้เป็นบ่อยเวลาเจอคนพูดแบบรัวๆ ) หรืออีกปัญหานึงคือ ฝรั่งฟังเราไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครฟังใครออกแล้วทีนี้จะสื่อสารกันอย่างไร??…..เหตุผลหนึ่งที่เขาฟังเราไม่ออกมาจากวิธีการออกเสียงของเราค่ะ เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมภาษาอังกฤษของเรามั้นไท๊ยไทย คือเหมือนพูดภาษาไทยแต่เป็นคำศัพท์อังกฤษ นั่นเป็นเพราะว่าเราออกเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง และที่สำคัญอีกอย่างเลยก็คือการลงเสียงหนักที่พยางค์ในคำ หรือที่เราเรียกว่า การ stress เสียงนั่นเอง
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการลงเสียงหนักเบาที่คำหรือประโยค แต่ภาษาไทยจะเน้นทุกคำต่างกันแค่ที่วรรณยุกต์เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษการ stress เสียงมีความสำคัญมากเพราะบางคำ ถ้าเราลงเสียงหนักผิดที่ ก็จะกลายเป็นอีกความหมายนึงเลย เช่น คำว่ present ถ้าเป็นคำนามที่แปลว่า ของขวัญ จะต้อง stress ตรงพยางค์แรก (’pre.sent) แต่ถ้าเป็นกริยาที่แปลว่า นำเสนอ ต้อง stress ตรงคำว่า sent (pre.sent’)
ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์นับไม่ถ้วน แล้วจะมีวิธีอย่างไรในการจดจำว่าคำไหนออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ไหน ง่ายๆเลยค่ะ เช็คจากในพจนานุกรมค่ะ (^^) แต่ถ้าคำไหนเราได้ใช้บ่อยๆเราก็จะรู้ได้เอง แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่บอกเราได้คร่าวๆนะคะว่า เราจะต้อง stress ที่คำไหน ดังนี้ค่ะ
1. คำที่มีสองพยางค์ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่พยางค์แรก เช่น
’ty.pist                             ’tooth.paste           ’hus.band
’doc.tor                            ’den.tist                 ’de.sert
’ans.wer                           ’sub.ject
แต่คำบางคำเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ถ้า stress ที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แต่ถ้า stress ที่พยางค์ที่สองจะเป็นคำกริยา เช่น
’con.duct (n.)         การจัดการ      con.’duct (v.)   จัดการ, นำ
’re.cord (n.)            ข้อความที่บันทึกไว้   re.’cord(v.)   จดบันทึก
’pro.gress (n.)        ความก้าวหน้า            pro.’gress(v.)   ก้าวหน้า
’pro.duce (n.)         ผักผลไม้สด              pro.’duce (v.) ปลูก,ผลิต
คำกริยาหรือคุณศัพท์ที่มีสองพยางค์อื่นๆ ให้ stress ที่พยางค์ที่สองที่เป็นรากศัพท์ เช่น
ap.’pear                           ex.’plain
be.’lieve                          for.’get
re.’serve                          com.’plete
แต่คำต่อไปนี้ รากศัพท์อยู่ที่พยางค์แรก ก็ต้อง stress ที่พยางค์แรก เช่น
’of.fer                               ’fol.low
’ac.tive                             ’hon.nest
2. คำที่มีสามพยางค์ขึ้นไป ควรดูว่ามีคำลงท้ายอย่างไร
ถ้าลงท้ายด้วย -al, -ate, -ble, -lly, -lar, -ment, -y, -tyจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายเช่น
co.‘no.mi.cal           ‘ca.pa.ble           ‘ac.tual.ly
ถ้าลงท้ายด้วย -ian, -ic, -ish, -sion, -tion, -tive, -tor, -terจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้ายหรือพยางค์หน้า suffix เหล่านี้ค่ะ เช่น
e.co.‘no.mic           es.‘tab.lish             so.’lu.tion
con.’duc.tor               te.le.’vi.sion
2. การ stress คำที่เป็นคำประสม
Noun + Noun (2 หรือ 3 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรก เช่น
teapot                   ’footprint
’postof.fice             ’news.pa.per
คำประสมที่มี นามอยู่ท้าย จะ stress ที่นามนั้น เช่น
first‘class               down’stairs
คำประสมที่มี กริยาลงท้าย จะ stress ที่กริยานั้น เช่น
over’look                under’stand
คำสรรพนามประเภท reflexive pronoun จะ stress ที่คำว่า self ค่ะ เช่น
him’self                  my’self
คำประสมที่เป็นกริยาประเภท two-word verb จะต้องเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง หรือที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์หรือคำบุพบท เช่น
get‘up          put ‘on         take ‘over
แต่ถ้าเป็นกริยาประเภท three-word-verb จะเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น
run‘outof                take ‘care of
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ แต่ถ้าให้แน่ใจจริงๆว่าstress ที่คำไหนให้เปิดพจนานุกรมดูเลยค่ะ เพราะจะมีบอกทุกคำว่าจะต้องลงเสียงหนักที่คำไหน
ที่มา http://www.pasaangkit.com


การเน้นเสียง (stressing)
                การเน้นเสียงในภาษาอังกฤษทำได้โดยการทำให้เสียงดังขึ้น หรือทำให้เสียงสูงขึ้น
การเน้นเสียงของคำ
                คำศัพท์แต่ละคำ จะมีการเน้นเสียงในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับคำ สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดดิกชันนารี ตัวอย่าง เช่น ตัวใหญ่คือเสียงที่เน้น
                                Option --/OP-tion/ เสียงเหมือน อ้อป-ชัน
                                canal -- /ca-NAL/ เสียงเหมือน คะ-แนล (ลากเสียง แนล)
                                deposit -- /de-PO-sit/ เสียงเหมือน ดิ-พ้อ-สิท
                                spaghetti --/spa-GHET-ti/ สเปอะ-เก๊ต-ทิ อันนี้แปลกหน่อย เน้นตัวที่สาม
การเน้นเสียงในประโยค
                ในประโยคจะมีการเน้นเสียงหลายจุด ยกเว้นคำที่เป็น pronoun และ preposition และคำท้ายสุดของประโยคจะมีการเน้นเสียงหนักสุด ที่เรียกว่า เสียงเน้นหลัก (Primary Stress) เช่น
                                If you don't want to add a poll to your topic.
                                If you don't want to add a poll to your topic.
                                I don't think that control is in OPEC's hands.

                                อ่านเป็น I don't think that control is in OPEC's hands.
ที่มา http://aunchaleegosa.blogspot.com




3.ระดับเสียงสูงต่ำในประโยค
นอกจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว การเรียนการออกเสียงในภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี Intonation   แล้ว intonation คืออะไร? มันก็คือเสียงขึ้นลงที่เราใช้ในเวลาพูด ถ้าสังเกตฝรั่งเวลาพูดเขาจะไม่พูดเสียงราบเรียบทั้งประโยค จะมีการขึ้น การลงของเสียง ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษาเราก็ต้องมารู้จักหลักการในการออกเสียงขึ้นลงเหล่านี้ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟังภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว รูปแบบของ intonation ในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูปแบบหลักๆคือ
1. falling intonation   การลงเสียงต่ำ
2. rising intonation การขึ้นเสียงสูง
หลักการใช้คร่าวๆของแต่อันมีดังนี้ค่ะ
1. falling intonation ให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้จะเป็นคำที่ลงเสียงต่ำ
1.1 ใช้กับประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ธรรมดา เช่น
  • It was quite bad.
  • I want to see him again.
1.2 ใช้สำหรับคำลงท้ายของประโยคคำถามแบบ Wh-question เช่น
  • What do you usually eat for lunch?
  • Who is that?
  • What’s it?
1.3 ใช้กับประโยคคำสั่งที่เน้น เช่น
  • Don’t make loud noise.
  • Sit down.
2. rising intonation
    2.1 ใช้ลงท้ายประโยคคำถามที่เป็นแบบ yes / no question
  • Is she a teacher?
  • Have you seen him?
  • Can I see it?
    2.2 ใช้กับประโยคบอกเล่าธรรมดาที่เราต้องการให้มันเป็นคำถาม เช่น
  • You like it?
  • I can’t go?
    2.3 ใช้ในการแสดงการทักทาย เช่น
  • Good Morning
  • Good afternoon
  • Good evening
    2.4 เวลาต้องการเกริ่นนำก่อนเข้าเนื้อหา เราสามารถพูดวลีที่เป็นการเกริ่นนำให้เป็นเสียงสูงได้ เช่น
  • As we know, Thailand is an agricultural country.
    2.5 ในการพูดถึง สิ่งของที่มีหลายอย่างเป็นหมวดหมู่ เรามักขึ้นเสียงสูงทุกคำแล้วลงเสียงต่ำที่คำสุดท้าย เช่น
  • I like to eat vegetables like carrottomato, and cabbage.
** เมื่อเราออกเสียงได้ชัดเจน น่าฟัง มีการใช้เสียงสูงต่ำ ไวยากรณ์ถูกต้อง ใช้ศัพท์ได้หลากหลาย ก็จะทำให้ภาษาอังกฤษของเราคล้ายกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้นค่ะ ^^
ที่มา http://www.pasaangkit.com
สรุป ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไรก็ตาม การออกเสียงย่อมมีความสำคัญเพราะเวลาเราพูดอะไรไปเขาจะฟังเรารู้เรื่องก็อยู่ที่การออกเสียงค่ะ เพราะแต่ละภาษาจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง มันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษบางคำ การออกเสียง s กับ z เพราะบางคำรูปเป็น s ออกเสียง s ปกติ แต่บางคำรูปเป็น s แต่ออกเสียง z มันอาจทำให้เรางงว่าตัวไหนออกแบบไหน ง่ายๆคือ จำเป็นคำๆไปค่ะว่าตัวนี้ออกแบบนี้ คนเรียนภาษาต้องหัดสังเกตและจดจำ และทำตาม และนำไปใช้จึงจะเกิดผลค่ะ ดูว่าเจ้าของภาษาเขาออกเสียงอย่างไรเราก็ออกเสียงอย่างนั้น แต่ถ้าบางคนคิดว่าการจำเป็นคำๆมันยากไป เยอะแยะจำไม่ไหวมันก็จะมีหลักการเล็กๆน้อยๆเอาไว้ให้คอยสังเกต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น