วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 4 เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆคนอยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นและใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน
      “ เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธีการซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้นถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอหรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำเด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก

      สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
      “ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลายด้าน

      “เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว
      ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
การส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      ปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อนเพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยากรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
      1.ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
      2.ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ

เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง

      3.ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
      4.ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
     
      5.ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
      6.ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
      7.ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล
                Jolly Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนในขณะเดียวกัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษร ผ่านการแสดงท่าทางด้วยสื่อหลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก
                เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ ได้มากมาย  การเรียนด้วยวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของเด็กๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น
สิ่งที่เด็กจะเรียนรู้
                - เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงผ่านการสอนแบบ Jolly Phonics ที่ทั้งสนุกและมีประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กอนุบาล
                - ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน ผ่านหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง หรือการทายคำศัพท์
                - เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และหลักการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องผ่านการฟังนิทานและเรื่องเล่าสำหรับเด็ก
                - สนุกสนานกับการเรียนภาษาอังกฤษในบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ
ผลจาการเรียนรู้
                - เกิดการพัฒนาทักษะทางการอ่านและการเขียนอย่างเป็นธรรมชาติ
                - ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นในการสื่อสาร โดยเฉพาะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
                - เพิ่มคลังคำศัพท์ให้มากขึ้น สามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอายุ 2 - 6 ปี

            เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนานจนไม่รู้ตัวเลยว่า พวกเขากำลังเรียนภาษาอังกฤษ! ที่ Helen Doron English เราเน้นการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายด้านอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กเล็กสามารถซึมซับสำเนียงภาษาอังกฤษ ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ และเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านเพลง การเคลื่อนไหว เกม รวมถึงการดูแลอย่างทะนุถนอม

Fun with Flupe สำหรับเด็กเล็ก อายุ 2 – 6 ปี

                Fun with Flupe ติดตามเรื่องราวการผจญภัยแสนสนุกของ Paul Ward ซึ่งกระโดดเข้าไปอยู่ในหนังสือนิทานของตัวเอง เพื่อช่วย Granny Fix และ Flupe ซ่อมแซมสิ่งของต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ผ่านบทกลอนภาษาอังกฤษที่ลงสัมผัสคำอย่างคล้องจอง เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ
                เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ หลักสูตรนี้ประกอบด้วยบทเพลงภาษาอังกฤษ 25 เพลง ในเนื้อหาทั้งหมด 12 ซีรี่ส์
หลักสูตรFun with Flupe เหมาะกับเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเรียน หรือเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลักสูตร Baby’s Best Start.

เด็กสนุกสนานไปกับ Flupe!


นำบทกลอนคล้องจองที่เด็กคุ้นเคยมาสอนภาษาอังกฤษ



ที่มา http://helendoronthailand.com/kids-2-6

สรุป การสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กปฐมวัยควรเริ่มสอนจากสิ่งที่ง่ายๆ อาจสอนจากสิ่งที่เด็กพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นประจำให้ ควรสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นหนังสือหรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน ทีละนิดๆ เพียงเท่านี้เด็กก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา พอเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเขา


วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


                เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธี การซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้น ถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอ หรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำ เด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก
                สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
                ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลาย ด้าน

                เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว
          ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
 ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/yushiva/2014/01/30/entry-8

          ภาษาอังกฤษนับวันนั้นสำคัญมากถึงกับเป็นเครื่องมือชี้วัดความสามารถในหน้าที่การงาน เป็นทั้งประตูเปิดโอกาสและสามารถกั้นความสำเร็จของเรา(ถ้าเราไม่มีทักษะทางภาษา)ได้เหมือนกัน
          ถ้าคุณเป็นผู้ปกครองสมัยใหม่คุณจะเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษยิ่งกว่าเลข ยิ่งกว่าวิทย์และคุณรู้ดีว่าควรเป็นสิ่งแรกๆที่ควรสอนลูกเล็กของคุณ
           เราจึงแนะนำวิธีการสอนภาษาที่ผู้ปกครองสามารถทำเองได้ที่บ้าน ฝึกตั้งแต่เด็กๆ เพราะสมองของเด็กเล็กเป็นเหมือนฟองน้ำซึมซับหมดทุกอย่างที่เทลงไป ถ้าเราเทของดีมีความรู้ให้ ลูกน้อยก็จะมีความพร้อมมากกว่าเพื่อนที่อายุเท่ากันอย่างมากมาย
           การเรียนภาษาก็เหมือนกับการลดความอ้วน เราต้องเปลี่ยนสภาวะแวดล้อม life style เพื่อรองรับทักษะใหม่นี้ คุณพ่อคุณแม่ที่ภาษาไม่เก่งไม่ต้องกลัวเพียงแค่เราเตรียมการเรียนรู้ภาษาให้ลูกเราจะค่อยๆเก่งขึ้นเอง
          สำเนียงไม่ต้องเป๊ะ คนที่สำเนียงดีต้องโตที่ต่างประเทศ เราสอนให้น้องออกเสียงคำให้ถูกต้องก็พอ เวลาน้องเข้าทำงานเค้าต้องการคนที่สื่อสารได้ไม่ใช่คนที่ออกเสียงเหมือนฝรั่ง ง่ายๆ คือ อย่าฝืนธรรมชาติเลย
                1.ลงทุนซื้อคอร์สวีดีโอเด็กเล็กไว้เลย คอร์สพวกนี้ถูกสร้างมาเพื่อสอนเด็กเล็กโดยเฉพาะ อย่าลืมนะว่าเด็กฝรั่งตอนเกิดมาเค้าก็ไม่รู้ภาษาเหมือนกัน เด็กทุกคนเรื่มจากศูนย์หมดถ้าเราให้ลูกเล็กไปเรียนที่สถาบัน ก็คงไม่พ้นคอร์สพวกนี้
                2.เปิดเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กให้ฟังบ่อยๆ อาจจะมีเพลงเฉพาะตอนเข้านอน หรือตอนแต่งตัวและสอนให้ลูกร้องตาม
                3.ไม่ควรพูดคำไทยแล้วแปลเป็นอังกฤษเพราะมันจะฝึกการแปลภาษาสองครั้ง ซึ่งเป็นการฝึกแบบไม่ใช่ธรรมชาติ  เมแนะนำให้ผู้ปกครองช่วยลูกเล็กให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของแทนคำพูด เช่น  ชี้เก้าอี้ อย่าพูดว่า “Chair เก้าอี้” แต่ให้พูดแค่ chair แล้วให้สมองของน้องทำความเข้าใจแทน เวลาน้องเห็นเก้าอี้น้องจะได้นึกถึง “chair” ไม่ใช่ .”chair เก้าอี้
                4.เวลาดูหนัง..ให้ดู Soundtrack ถึงแม้ว่าน้องอาจจะไม่อ่านแต่อย่างน้อยน้องจะได้ฟัง
                5.ซื้อหนังสือหรือแม็กกาซีนที่น้องชอบแต่เป็นภาษาอังกฤษทุกอย่างที่เด็กทำมาจากความชอบ น้องชอบอะไร ส่งเสริม แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษ
                6.ห้ามสั่งคำศัพท์ให้ท่อง ท่องไม่ได้โดนตีหรืออดขนม เพราะมันจะเป็นการสร้างทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษาจนน้องโตเป็นผู้ใหญ่เลยนะ 
 ที่มา http://www.fmcpenglish.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%AB/

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
                 1. ฝึกเด็กให้รู้จักสังเกตคำที่ปรากฏทั่วไป ชี้ให้ดูพยัญชนะ คำภาษาอังกฤษจากโทรทัศน์ สิ่งของเครื่องใช้ คำ โฆษณา หนังสือพิมพ์ และศัพท์ที่ปรากฏทั่วไป ผู้ปกครองต้องชี้ อ่านให้เด็กฟัง พร้อมแปล แล้วให้เด็กลองออกเสียง อาจร้อง เป็นทำนอง เด็กจะสนุกและเกิดการเรียนโดยอัตโนมัติ ขณะนั่งรถไปตามทางจงใช้โอกาสว่างระหว่างนั่งรถในการสอนภาษาอังกฤษกับเด็กทุกครั้ง เพราะเด็กกำลังตื่นตัวกับประสบการณ์ข้างทาง 
                2. อ่านให้ฟัง นิทานกับเด็กเป็นของคู่กัน เด็กชอบฟังนิทานและเรียนรู้หลายอย่างจากนิทาน ผู้ปกครองควรอ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษและแปลเป็นไทยให้เด็กฟัง การฟังเป็นประจำทุกวันจะทำให้เด็กจำได้ สนุกทั้งนิทาน และได้เรียนรู้ทั้งภาษาอังกฤษ เวลาเล่านิทานที่เหมาะมาก คือ ก่อนนอน ควรอ่านเรื่องซ้ำ ๆ เด็กไม่เบื่อที่จะฟังนิทานซ้ำเรื่อง โดยเฉพาะ เรื่องที่ประทับใจ การอ่านซ้ำ การเล่าซ้ำจะทำให้เด็กจำเรื่อง จำศัพท์ จำประโยคและสำนวนภาษาเก็บไว้ในใจลึก ๆ ได้ ประการสำคัญเมื่อเล่านิทานจบลง ควรทบทวนศัพท์สัก 2 - 3 คำก่อนจะเลิกเล่า แต่ถ้าเล่าแล้วเด็กหลับไปก่อน ไม่เป็นไร อาจถามทบทวนในวันใหม่ได้ การได้ฟังได้พูดซ้ำ ๆ หลายครั้งเด็กจะจำศัพท์ได้ดี ศัพท์ที่ทวนควรเป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เด็ก เช่น เล่าเรื่อง หนูกับราชสีห์ ศัพท์ที่ทวน ได้แก่ Rat, Lion, Tree ไม่ใช่ relation, meet ซึ่งไกลประสบการณ์เด็กเว้นแต่คุ้นกับคำง่ายแล้ว จึงเพิ่มเติมคำไกลตัว ข้อสำคัญอย่าสอนสะกดคำหรือคาดคั้นให้เด็กท่องศัพท์ เด็กจะเครียดและเกลียดภาษาอังกฤษในที่สุด เด็กอาจท่องตามท่านเป็นนกแก้ว นกขุนทอง เด็กจะฝังความรู้สึกความไม่ชอบอยู่ภายใน จงให้เด็กได้เรียนแบบสนุก เรียนปนเล่นเหมือน คำว่า Plearn (เพลิน) Play + learn ของศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ สมุทรวานิช เด็กจะเรียนรู้และจำได้อย่างมีความสุข 
                3.สร้างความคุ้นเคยด้วยการใช้บทสนทนา ทักทายอย่างง่ายเป็นประจำ เมื่อพบเด็ก เช่น 
                    Good morning, How are you? 
                    What is your name? 
                    Where are you going? 
 ควรถามซ้ำ ๆ การถามซ้ำทำให้จำได้แล้วจึงขยายประโยคต่อไป จากคำตอบนี้ต้องการบอกให้ผู้ปกครองทราบว่าไม่ต้องหาโรงเรียนให้ยุ่งยากใจ ผู้ปกครองสามารถสอนเองได้ สอนที่บ้าน สอนขณะเดินทาง สอนด้วยตนเอง ไม่ช้าเกินไปในการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าผู้ปกครองใส่ใจ แม้เด็กจะเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีการสอนภาษาอังกฤษเลยก็ตาม 
 ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=98

สรุป การสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กปฐมวัยควรเริ่มสอนจากสิ่งที่ง่ายๆ อาจสอนจากสิ่งที่เด็กพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นประจำให้ ควรสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นหนังสือหรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน ทีละนิดๆ เพียงเท่านี้เด็กก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา พอเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเขา



วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 2 ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


1.หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย 

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
                1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
                2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง
                 3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
               4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
               5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
              6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
                7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก
                8. ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลาย ด้าน

ที่มา  http://oknation.nationtv.tv/blog/yushiva/2014/01/30/entry-8





2. ความหมาย ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

ความหมาย
                ภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัยเป็นการเรียนรู้วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรจัดการเรียนให้เด็กสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และ พัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา คือ เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ


ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราได้ทราบถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียนและหลักในการใช้คำในการอ่านและการพูด ทำให้สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
๑. ทักษะการใช้ภาษา
๒. ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
๓. การอ่าน และการฟัง

ที่มา   http://amonrat220.blogspot.com/2016/05/1.html
           http://pratumwai53.blogspot.com/2012/12/blog-post_28.html





3.  ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
               
              ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แคท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แคท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่มา  https://sites.google.com

สรุป การสอนภาษาอังกฤษนับเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมอื่น ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การหลักการออกเสียง การใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปสอนให้เด็กสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ






เนื้อหาที่ 1 การออกเสียงภาษาอังกฤษ


1.การออกเสียงภาาาอังกฤษ

27 เทคนิคการออกเสียงภาษาอังกฤษ


1. คำที่ลงท้ายด้วย -OUS
จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “อัส” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่ส” (เสียงต่ำลงมาอีกหนึ่งสเต็ป) เช่น Famous จากเดิม เฟ-มัส เปลี่ยนเป็น เฟ๊-เหมิ่ส (พยางค์สองเสียงต่ำลงมาหนึ่งสเต็ป) หรืออีกคำ Dangerous จากเดิม แดน-เจอ-รัส เปลี่ยนเป็น แด๊น-เจอะ-เหริส
2. คำที่ลงท้ายด้วย -ing
ส่วนใหญ๋คำกริยา เรามักจะออกเสียงว่า “อิ้ง” ให้ลดเสียงลงมาอีกหนึ่งสเต็ป เป็น “อิ่ง” เช่น Going เดิมออกเสียง โก-อิ้ง ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น โก๊-อิ่ง, Reading จากเดิม รี๊ด-ดิ้ง เปลี่ยนเป็น รี๊ด-ดิ่ง, Comimg จากเดิม คัม-มิ้ง ขอออกเสียงสำเนียงเลิศๆ ว่า คั๊ม-หมิ่ง
3. คำที่ลงท้ายด้วย -ture
ออกเสียงผิดกันประจำ ปกติคนไทยออกเสียง “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนให้ถูกต้องเป็น “เฉ่อร์” เช่น Picture เดิม พิค-เจ้อร์ เปลี่ยนเป็น พิค-เฉ่อร์ อย่างไปที่รังสิตต้องเจอ Future ไม่เอา ฟิว-เจ้อร์ แล้ว ออกเสียงเก๋ๆ เป็น ฟิว-เฉ่อร์ เลิศค่ะ!!!
4. คำที่ลงท้ายด้วย -ly หรือ -ry
ที่เราจะออกเสียงว่า “ลี่” (จริงๆ ตัว R กับ L ถ้าให้ออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องว่ากันยาว) ให้เปลี่ยนเป็น “หลี่” แทน เช่น Ferry เดิมออกเสียง เฟอ-รี่ เปลี่ยนเป็น เฟ-หรี่ รับรองเหมือนฝรั่งเด๊ะ!
5. คำที่ลงท้ายด้วย -tion
ปกติเราออกเสียงว่า “ชั่น” ให้เปลี่ยนเป็น “เฉิ่น”แทน เช่น Position เดิมคือ โพ-ซิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น โพ-ซิ-เฉิ่น , Partition เดิม พาร์-ทิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น พาร์-ทิ-เฉิ่น หรือคำยาวๆ เช่น Reputationw ไม่ออกเสียง เรพ-พิว-เท-ชั่น ให้พูดว่า เรพ-พิว-เท-เฉิ่น
6.คำที่ลงท้ายด้วย -ile
ปกติเราจะออกเสียงแค่พยางค์เดียว “อายล์” แต่ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ ต้องออกเสียง 2 พยางค์ว่า “อายล์-เอิว์ล” เช่น Smile เดิมออกเสียง สะ-มายล์ เปลี่ยนเป็น “สะ-มายล์-เอิว์ลล” ใครได้ยินต้องร้องโอ้โห!!
7. คำที่ลงท้ายด้วย -er หรือ -or
ที่เรามักออกเสียงกัน “เอ้อ” เปลี่ยนละ ลดคีย์ลงหนึ่งสเต็ป ให้ออกเสียงว่า “เอ่อร์” แทน เช่น Farmer เดิมออกเสียง ฟาร๋ม-เม้อ เปลี่ยนนิดเดียวเป็น ฟาร๋ม-เหม่อร์, Tutor ถ้าสำเนียงไทยจัดๆ ออกเสียง ติว-เต้อร์ ลองเปลี่ยนให้ดีขึ้นมาอีกนิด ทิว-เท้อร์ หรือเอาให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ให้ออกเสียง ทิว-เถ่อร์ ( ลดคีย์พยางค์หลังลงหนึ่งสเต็ป)
8. คำที่ลงท้ายด้วย -ment
จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “เม้นท์” ให้เปลี่ยนลดเสียงต่ำลงเป็น “เหม่นท์” แทน เช่นคำนี้ที่เจออยู่บ่อยๆ Comment จากเดิมเราอ่านว่า คอม-เม้นท์ ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น “ค่อม-เหม่นท์”เก๋กว่าเยอะ
9. คำที่ลงท้ายด้วย -our
คนไทยมักออกเสียงผิด โดยการออกเสียงพยางค์เดียวว่า “เอาร์” จริงๆ ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะนั้นจะต้องออกเสียง 2 พยางค์ “เอ้า-เหว่อ” เช่น Sour เดิม เซาร์ เปลี่ยนเป็น เซ้า-เหว่อ, Hour เจอบ่อยๆ เลย เปลี่ยนจาก เอาร์ เป็น “เอ้า-เหว่อ”
10.คำที่ลงท้ายด้วย -um
ถ้าออกเสียงแบบปกติคือ “อั้ม” ซึ่งฟังพอเข้าใจ แต่ถ้าอยากให้สำเนียงเลิศแบบสุดติ่ง ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ม” เช่น Forum จาก ฟอ-รั่ม เป็น ฟอ-เหริ่ม, Serum ที่เรามักออกเสียงผิดแบบหนักๆ กันว่า ซี-รั่ม จริงๆ ต้องออกเสียงว่า “เซีย-เหริ่ม”
11. คำที่ลงท้ายด้วย -sion
เชื่อว่าคนไทยเกินล้านคนออกเสียงว่า “ชั่น” ซึ่งที่ที่ควรต้องออกเสียงว่า “เฉิ่น” เช่น Mansion ไม่ใช่ แมน-ชั่น ต้องออกเสียงว่า แมน-เฉิ่น , Desicion ก็ไม่ใช่ ดี-สิ-ชั่น ต้องออกเสียงว่า ดิ-ซิ-เฉิ่น
12. คำที่ลงท้ายด้วย -ral
เรามักออกเสียงกันว่า “รัล” (เร่า) แต่จริงๆควรออกเสียงว่า “เริล” เช่น น้ำแร่ Mineral ไม่เอา มิ-เนอ-รัล ละให้เปลี่ยนเป็น มิ-เหน่อ-เริล
13. คำที่ลงท้ายด้วย -ire
ที่เรามักออกเสียงกันพยางค์เดียว “อาย” ให้ออกเสียงเป็น 2 พยางค์ “อาย-เย้อร์” เช่น Fire เดิมๆ เคยออกเสียง ฟาย ให้เปลี่ยนเป็น ฟาย-เย้อร์ หรือ Tire จากเดิม ทาย เปลี่ยนเป็น ทาย-เย้อร์ สำเนียงเป๊ะมาก!
14. คำที่ลงท้ายด้วย -el
คำนี้คนไทยออกเสียงผิดกันเยอะมาก เพราะชอบออกเสียงว่า “เอล” เช่น Model ออกเสียง โม-เดล ฝรั่งฟังแทบไม่ออกบอกเลย จริงๆ คำที่ลงท้ายว่า -el ไม่ใช่ “เอล” แต่เป็น “โอ็ล” ต่างหาก เช่น Model ออกเสียงว่า เม๊าะ-โด็ล , Level ไม่ใช่ เล-เวล ต้องออกเสียงว่า เล๊ะ-โฝว็ล
15. คำที่ลงท้ายด้วย -ant
(เฉพาะคำสองพยางค์ขึ้นไป) เดิมปกติเราออกเสียงว่า “แอ๊นท์” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่นท์” เช่น Important จากเดิม อิม-พอ-แท๊นท์ ให้เปลี่ยนเป็น อิม-เพาะ-เทิ่นท์, Mutant เดิมออกเสียง มิว-แท๊นท์ ก็เปลี่ยนเป็น มิว-เทิ่นท์ หรือคำยาวๆ อย่าง Participant พา-ทิ-ซิ-แพ๊นท์ ก็แค่เปลี่ยนพยางค์สุดท้ายเป็น พา-ทิ-ซิ-เพิ่นท์
16. คำที่ลงท้ายด้วย -ger
ที่เรามักใส่กันสุดคำว่า “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนเป็นแค่ “เจ่อะ” พอค่ะ เช่น Manager หลายคนอ่านกันว่า แม-เน-เจ้อร์ แต่ที่ถูกต้องคือ มะ-หนิด-เจ่อะ , Ledger ไม่ใช่ เล็ด-เจ้อร์ แค่ เล็ด-เจ่อะ พอแล้ววววว ..
17. คำที่ลงท้ายด้วย -om
เราออกเสียงกันแบบไทยสไตล์ว่า “อ้อม” แต่จริงๆ แค่ “เอิ่ม” ก็พอ เช่น รณรงค์ให้ใช้ถุงยาง Condom ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ Condom มิใช่ คอน-ด้อม ออกเสียงแบบฝรั่งคือ ค๊อน-เดิ่ม , Random เปลี่ยนจาก แรน-ด้อม เป็น แรน-เดิ่ม , Bottom เดิมๆ คือ บ๊อต-ท่อม ต้องออกเสียงเป็น บ๊อต-เถิ่ม สำเนียงดีมากเลยนะ รู้ยัง!
18. คำที่ลงท้ายด้วย -ton (2 พยางค์ขึ้นไป)
ปกติชอบออกเสียงกันแบบไทยๆ ว่า “ต้อน” จริงๆ ออกเสียงแบบฝรั่ง ต้องออกว่า “เทิ่น” ต่างหาก! เช่น Cotton Bud เราออกเสียงกันว่า คัท-ตั้น-บัด จริงๆ ต้อง “คัท-เทิ่น-บัด” , Carton ก็ไม่ใช่ คาร์-ต้อน เปลี่ยนเป็น คาร์-เทิ่น
19.คำที่ลงท้ายด้วย -ure (บางคำ)
หลายๆ คำ เรามักเจอบ่อยๆ เช่น Pure, Cure, Secure ไรงี้ คำลงท้ายด้วย -ure เราชอบออกเสียงกันว่า “เอียว” เช่น Pure ออกเสียงว่า เพียว ซึ่งไม่ถูก (แต่ก็ไม่มาก ฝรั่งพอฟังออก) แต่ถ้าจะให้แบบถูกต้องก็คือ “พเยอร์” อ่านว่า พะ-เยอร์ ต้องควบคุมเสียงหรือออกเสียงเร็วๆ ให้เหมือนเป็นพยางค์เดียว ดังนั้น Cure ก็ไม่ใช่ เคียว ต้องเป็น คเยอร์ .. โอ้ว! สำเนียงไฮโซเว่อร์
20. คำที่ลงท้ายด้วย -us
โดยปกติเราชอบออกเสียงว่า “อัส” ไม่ก็ “อุส” แต่ถ้าจะให้เป็นสำเนียงฝรั่งจริงๆ ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ส” เช่น Status เดิมๆ ออกเสียงว่า สะ-เต-ตัส เปลี่ยนเป็น สะ-เต-เทิ่ส, ปลาหมึกยักษ์ Octopus เราจะไม่ออกเสียงว่า อ๊อก-โต-พุส ต่อจากนี้ให้ออกเสียงว่า อ๊อก-เถอะ-เผิส
21. คำที่ลงท้ายด้วย -land
เจอปุ๊บ ออกเสียง “แลนด์” ปั๊บ! ซึ่งฝรั่งจะไม่ออกเสียงงี้ แต่เขาจะออกเสียงว่า “เลิ่นด์” เช่น Scotland ออกเสียงที่ถูกคือ สก๊อต-เลิ่นด์ , New Zealand ก็ออกเสียง นิว-ซี๊-เลิ่นด์ ยกเว้นคำว่า Thailand กับ Foodland นะจ๊ะ
22.คำที่ลงท้ายด้วย -en
เราชอบออกเสียงกันว่า “เอ้น” จริงๆ ต้องออกเสียงว่า “อึ่น” เช่น Garden เดิมๆ คือ การ์-เด้น แต่ถ้าจะเอาให้ฝรั่งเก็ทก็ต้องออกเสียงว่า การ์-ดึ่น , Kitten ลูกแมว ก็ไม่เอา คิท-เท่น ที่ดีงามต้องเป็น คิท-ทึ่น หรือ Kitchen ก็ไม่ คิท-เช่น ละต้องเป็น คิท-ฉึ่น
23. คำที่ลงท้ายด้วย -ard 
(ตั้งแต่ 2พยางค์ขึ้นไป) เรามักออกเสียง “อาร์ด” กัน ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่! ฝรั่งออกเสียงกันว่า “เอิด” เช่น Wizard ไม่ใช่ วิ-สาร์ด ที่ถูกต้องคือ วิ-เสิด, จิ้งจก :Lizard ก็ไม่ใช่ ลิ-สาร์ด ออกเสียงเป็น ลิ-เสิด แม้กระทั่ง Standard จากเดิม สะ-แตน-ดาร์ด จริงๆ คือ สะ-แตน-เดิด
24. คำที่ลงท้ายด้วย -le
ที่เราออกเสียงกันแบบคุ้นปากตั้งแต่เด็กๆว่า “เอิ้ล” ซี่งจริงๆต้องพูดว่า “โอ็ล” แบบเสียงสั้นๆ เช่น Table ใครก็รุ็ว่าอ่านว่า เท-เบิ้ล แต่ที่ถูกก็คือ เท-โบ็ล, Double เปลี่ยนจาก ดับ-เบิ้ล เป็น ดึ่บ-โบ็ล , สายเคเบิ้ล Cable ก็ให้ออกเสียงใหม่เป็น เค๊-โบ็ล
25. คำที่ลงท้ายด้วย -ley
เราชอบออกเสียง “เล่” แต่ที่ถูกต้องคือ “ลี่” เช่น รถเข็น Trolley ก็ไม่ใช่ โทรล-เล่ ที่ถูกคือ ทรอ-หลี่, เพลง Medley ก็ไม่ใช่ เมดเล่ ต้องออกเสียงว่า เม็ด-ลี่ พยางค์แรกออกเสียงสั้นด้วยนะ
26. คำที่ลงท้ายด้วย -ian
ที่เรามักเจอในความหมายว่าเป็น “นัก” ต่างๆ แล้วชอบออกเสียงงว่า เชี่ยน ให้เปลี่ยนเป็น เฉิ่น จะสุดยอดกว่า! เช่น นักมายากล Magician ไม่ เม-จิก-เชี่ยน ละ เปลี่ยนเป็น เม๊-จิ-เฉิ่น , นักดนตรี Musician มิว-สิค-เชี่ยน เปลี่ยนเป็น มิว-ซิ-เฉิ่น
27. คำที่ลงท้ายด้วย -oil
ดูเหมือนไม่มีอะไร เพราะเราอ่าน “ออย” กันอยู่แล้ว แต่ที่จริงต้องออกเสียง 2 พยางค์ “ออย-เยิ่ล” เช่น น้ำมัน Oil ออกเสียงว่า ออย-เยิ่ล , soil ดิน ไม่แค่ ซอย แต่ต้อง ซอย-เยิ่ล , ต้มน้ำจนเดิอด boil ก็ต้อง บอย-เยิ่ล
ที่มา ... http://teen.mthai.com/education/108473.html

การออกเสียง s , z
เสียง S กับ Z ออกเสียงต่างกันอย่างไร ปกติ S จะออกเหมือนเสียงงูเวลาขู่  สสสสสส โดยที่เมื่อจับที่คอหรือตรงลูกกระเดือนจะไม่รู้สึกถึงอาการสั่น   แต่เวลาออกเสียง Z จะเหมือนเสียงผึ้ง ซซซซซซ โดยจะมีอาการสั่นที่คอหรือลูกกระเดือก ถ้าไม่สั่นนี่ถือว่าไม่ใช่เสียง Z ภาษาอังกฤษที่มี S ขึ้นต้นคำส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นเสียง S หรือ soft Sเช่นคำว่า sun, sea, soon, silver, etc. แต่เมื่อ S ไปอยู่ภายในคำบางคำ S ตัวนั้นจะออกเป็นเสียง Z หรือ hard S เช่นคำว่า easy
                สมมติว่า ส.แทนเสียง S และ ซ.แทนเสียง Z เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ดังนั้น easy จึงอ่านว่า อีซี่ ไม่ใช่ อีสี่   มีตัวอย่างคำอื่นๆอีกดังนี้ค่ะ
                                Busy       อ่านว่า    บีซี่
                                Result    อ่านว่า   รีซัลทฺ
                                present อ่านว่า    พรี เซ้นทฺ
                                was         อ่านว่า   วัซ
                                as            อ่านว่า   แอ้ซ     (ไม่ใช่   แอ้ส)
                                does       อ่านว่า   ดาซ
                                lose         อ่านว่า   ลูซ
                                raise       อ่านว่า   เรซ
                แต่เมื่อ s ไปอยู่ท้ายคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ที่มีการเติม s หรือ es ที่คำนาม เพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ หรือเติมที่คำกริยาเพื่อบอกว่าเป็น present simple tense ในลักษณะนี้ s ออกเสียงได้ 3 แบบ คือ   /s/   /z/   /iz/   โดยหลักในการออกเสียงทั้ง 3 ตัวมีดังนี้ค่ะ
                1. ออกเป็นเสียง /s/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ f, k, p, t, thพยัญชนะพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม voiced sound หรือพยัญชนะเสียงไม่ก้อง เมื่อเจอพยัญชนะต่อไปนี้ ให้ออกเสียง /s/ ค่ะ เช่น
                                books          ออกเสียงเป็น     บุ๊คสฺ
                                rats              ออกเสียงเป็น     แร็ทสฺ
                                caps             ออกเสียงเป็น     แค้ปสฺ
                2. ออกเป็นเสียง /z/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงก้องต่อไปนี้ b, d, g, m, n, z, l, r, w, y, v เช่น
                                beds             ออกเสียงเป็น              เบ้ดซฺ
                                kids              ออกเสียงเป็น            คิดซฺ
                                eyes             ออกเสียงเป็น              อายซฺ
                3. ออกเสียงเป็น /iz/ ซึ่งก็คือเสียง อึซเมื่อคำศัพท์นั้นเติม es เช่น
                                buses            ออกเสียงเป็น   บัส-สึซ
                                pushes          ออกเสียงเป็น   พุช-ชึซ
                                watches        ออกเสียงเป็น   ว้อช-ชึซ
ที่มา http://www.pasaangkit.com



2.การลงเสียงเน้นหนักในคำ
การ stress คำในภาษาอังกฤษ
เวลาที่ต้องพูดกับฝรั่งทีไร ต้องเกิดปัญหาเราฟังฝรั่งไม่รู้เรื่อง (อันนี้เป็นบ่อยเวลาเจอคนพูดแบบรัวๆ ) หรืออีกปัญหานึงคือ ฝรั่งฟังเราไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครฟังใครออกแล้วทีนี้จะสื่อสารกันอย่างไร??…..เหตุผลหนึ่งที่เขาฟังเราไม่ออกมาจากวิธีการออกเสียงของเราค่ะ เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมภาษาอังกฤษของเรามั้นไท๊ยไทย คือเหมือนพูดภาษาไทยแต่เป็นคำศัพท์อังกฤษ นั่นเป็นเพราะว่าเราออกเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง และที่สำคัญอีกอย่างเลยก็คือการลงเสียงหนักที่พยางค์ในคำ หรือที่เราเรียกว่า การ stress เสียงนั่นเอง
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการลงเสียงหนักเบาที่คำหรือประโยค แต่ภาษาไทยจะเน้นทุกคำต่างกันแค่ที่วรรณยุกต์เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษการ stress เสียงมีความสำคัญมากเพราะบางคำ ถ้าเราลงเสียงหนักผิดที่ ก็จะกลายเป็นอีกความหมายนึงเลย เช่น คำว่ present ถ้าเป็นคำนามที่แปลว่า ของขวัญ จะต้อง stress ตรงพยางค์แรก (’pre.sent) แต่ถ้าเป็นกริยาที่แปลว่า นำเสนอ ต้อง stress ตรงคำว่า sent (pre.sent’)
ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์นับไม่ถ้วน แล้วจะมีวิธีอย่างไรในการจดจำว่าคำไหนออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ไหน ง่ายๆเลยค่ะ เช็คจากในพจนานุกรมค่ะ (^^) แต่ถ้าคำไหนเราได้ใช้บ่อยๆเราก็จะรู้ได้เอง แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่บอกเราได้คร่าวๆนะคะว่า เราจะต้อง stress ที่คำไหน ดังนี้ค่ะ
1. คำที่มีสองพยางค์ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่พยางค์แรก เช่น
’ty.pist                             ’tooth.paste           ’hus.band
’doc.tor                            ’den.tist                 ’de.sert
’ans.wer                           ’sub.ject
แต่คำบางคำเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ถ้า stress ที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แต่ถ้า stress ที่พยางค์ที่สองจะเป็นคำกริยา เช่น
’con.duct (n.)         การจัดการ      con.’duct (v.)   จัดการ, นำ
’re.cord (n.)            ข้อความที่บันทึกไว้   re.’cord(v.)   จดบันทึก
’pro.gress (n.)        ความก้าวหน้า            pro.’gress(v.)   ก้าวหน้า
’pro.duce (n.)         ผักผลไม้สด              pro.’duce (v.) ปลูก,ผลิต
คำกริยาหรือคุณศัพท์ที่มีสองพยางค์อื่นๆ ให้ stress ที่พยางค์ที่สองที่เป็นรากศัพท์ เช่น
ap.’pear                           ex.’plain
be.’lieve                          for.’get
re.’serve                          com.’plete
แต่คำต่อไปนี้ รากศัพท์อยู่ที่พยางค์แรก ก็ต้อง stress ที่พยางค์แรก เช่น
’of.fer                               ’fol.low
’ac.tive                             ’hon.nest
2. คำที่มีสามพยางค์ขึ้นไป ควรดูว่ามีคำลงท้ายอย่างไร
ถ้าลงท้ายด้วย -al, -ate, -ble, -lly, -lar, -ment, -y, -tyจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายเช่น
co.‘no.mi.cal           ‘ca.pa.ble           ‘ac.tual.ly
ถ้าลงท้ายด้วย -ian, -ic, -ish, -sion, -tion, -tive, -tor, -terจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้ายหรือพยางค์หน้า suffix เหล่านี้ค่ะ เช่น
e.co.‘no.mic           es.‘tab.lish             so.’lu.tion
con.’duc.tor               te.le.’vi.sion
2. การ stress คำที่เป็นคำประสม
Noun + Noun (2 หรือ 3 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรก เช่น
teapot                   ’footprint
’postof.fice             ’news.pa.per
คำประสมที่มี นามอยู่ท้าย จะ stress ที่นามนั้น เช่น
first‘class               down’stairs
คำประสมที่มี กริยาลงท้าย จะ stress ที่กริยานั้น เช่น
over’look                under’stand
คำสรรพนามประเภท reflexive pronoun จะ stress ที่คำว่า self ค่ะ เช่น
him’self                  my’self
คำประสมที่เป็นกริยาประเภท two-word verb จะต้องเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง หรือที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์หรือคำบุพบท เช่น
get‘up          put ‘on         take ‘over
แต่ถ้าเป็นกริยาประเภท three-word-verb จะเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น
run‘outof                take ‘care of
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ แต่ถ้าให้แน่ใจจริงๆว่าstress ที่คำไหนให้เปิดพจนานุกรมดูเลยค่ะ เพราะจะมีบอกทุกคำว่าจะต้องลงเสียงหนักที่คำไหน
ที่มา http://www.pasaangkit.com


การเน้นเสียง (stressing)
                การเน้นเสียงในภาษาอังกฤษทำได้โดยการทำให้เสียงดังขึ้น หรือทำให้เสียงสูงขึ้น
การเน้นเสียงของคำ
                คำศัพท์แต่ละคำ จะมีการเน้นเสียงในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับคำ สามารถตรวจสอบได้โดยการเปิดดิกชันนารี ตัวอย่าง เช่น ตัวใหญ่คือเสียงที่เน้น
                                Option --/OP-tion/ เสียงเหมือน อ้อป-ชัน
                                canal -- /ca-NAL/ เสียงเหมือน คะ-แนล (ลากเสียง แนล)
                                deposit -- /de-PO-sit/ เสียงเหมือน ดิ-พ้อ-สิท
                                spaghetti --/spa-GHET-ti/ สเปอะ-เก๊ต-ทิ อันนี้แปลกหน่อย เน้นตัวที่สาม
การเน้นเสียงในประโยค
                ในประโยคจะมีการเน้นเสียงหลายจุด ยกเว้นคำที่เป็น pronoun และ preposition และคำท้ายสุดของประโยคจะมีการเน้นเสียงหนักสุด ที่เรียกว่า เสียงเน้นหลัก (Primary Stress) เช่น
                                If you don't want to add a poll to your topic.
                                If you don't want to add a poll to your topic.
                                I don't think that control is in OPEC's hands.

                                อ่านเป็น I don't think that control is in OPEC's hands.
ที่มา http://aunchaleegosa.blogspot.com




3.ระดับเสียงสูงต่ำในประโยค
นอกจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว การเรียนการออกเสียงในภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี Intonation   แล้ว intonation คืออะไร? มันก็คือเสียงขึ้นลงที่เราใช้ในเวลาพูด ถ้าสังเกตฝรั่งเวลาพูดเขาจะไม่พูดเสียงราบเรียบทั้งประโยค จะมีการขึ้น การลงของเสียง ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษาเราก็ต้องมารู้จักหลักการในการออกเสียงขึ้นลงเหล่านี้ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟังภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย
โดยปกติแล้ว รูปแบบของ intonation ในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูปแบบหลักๆคือ
1. falling intonation   การลงเสียงต่ำ
2. rising intonation การขึ้นเสียงสูง
หลักการใช้คร่าวๆของแต่อันมีดังนี้ค่ะ
1. falling intonation ให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้จะเป็นคำที่ลงเสียงต่ำ
1.1 ใช้กับประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ธรรมดา เช่น
  • It was quite bad.
  • I want to see him again.
1.2 ใช้สำหรับคำลงท้ายของประโยคคำถามแบบ Wh-question เช่น
  • What do you usually eat for lunch?
  • Who is that?
  • What’s it?
1.3 ใช้กับประโยคคำสั่งที่เน้น เช่น
  • Don’t make loud noise.
  • Sit down.
2. rising intonation
    2.1 ใช้ลงท้ายประโยคคำถามที่เป็นแบบ yes / no question
  • Is she a teacher?
  • Have you seen him?
  • Can I see it?
    2.2 ใช้กับประโยคบอกเล่าธรรมดาที่เราต้องการให้มันเป็นคำถาม เช่น
  • You like it?
  • I can’t go?
    2.3 ใช้ในการแสดงการทักทาย เช่น
  • Good Morning
  • Good afternoon
  • Good evening
    2.4 เวลาต้องการเกริ่นนำก่อนเข้าเนื้อหา เราสามารถพูดวลีที่เป็นการเกริ่นนำให้เป็นเสียงสูงได้ เช่น
  • As we know, Thailand is an agricultural country.
    2.5 ในการพูดถึง สิ่งของที่มีหลายอย่างเป็นหมวดหมู่ เรามักขึ้นเสียงสูงทุกคำแล้วลงเสียงต่ำที่คำสุดท้าย เช่น
  • I like to eat vegetables like carrottomato, and cabbage.
** เมื่อเราออกเสียงได้ชัดเจน น่าฟัง มีการใช้เสียงสูงต่ำ ไวยากรณ์ถูกต้อง ใช้ศัพท์ได้หลากหลาย ก็จะทำให้ภาษาอังกฤษของเราคล้ายกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้นค่ะ ^^
ที่มา http://www.pasaangkit.com
สรุป ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไรก็ตาม การออกเสียงย่อมมีความสำคัญเพราะเวลาเราพูดอะไรไปเขาจะฟังเรารู้เรื่องก็อยู่ที่การออกเสียงค่ะ เพราะแต่ละภาษาจะมีเอกลักษณ์ของตัวเอง มันอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษบางคำ การออกเสียง s กับ z เพราะบางคำรูปเป็น s ออกเสียง s ปกติ แต่บางคำรูปเป็น s แต่ออกเสียง z มันอาจทำให้เรางงว่าตัวไหนออกแบบไหน ง่ายๆคือ จำเป็นคำๆไปค่ะว่าตัวนี้ออกแบบนี้ คนเรียนภาษาต้องหัดสังเกตและจดจำ และทำตาม และนำไปใช้จึงจะเกิดผลค่ะ ดูว่าเจ้าของภาษาเขาออกเสียงอย่างไรเราก็ออกเสียงอย่างนั้น แต่ถ้าบางคนคิดว่าการจำเป็นคำๆมันยากไป เยอะแยะจำไม่ไหวมันก็จะมีหลักการเล็กๆน้อยๆเอาไว้ให้คอยสังเกต