วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 2 ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


1.หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย 

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
                1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
                2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง
                 3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
               4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
               5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
              6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
                7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก
                8. ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลาย ด้าน

ที่มา  http://oknation.nationtv.tv/blog/yushiva/2014/01/30/entry-8





2. ความหมาย ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

ความหมาย
                ภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัยเป็นการเรียนรู้วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรจัดการเรียนให้เด็กสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และ พัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา คือ เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ


ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราได้ทราบถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียนและหลักในการใช้คำในการอ่านและการพูด ทำให้สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
๑. ทักษะการใช้ภาษา
๒. ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
๓. การอ่าน และการฟัง

ที่มา   http://amonrat220.blogspot.com/2016/05/1.html
           http://pratumwai53.blogspot.com/2012/12/blog-post_28.html





3.  ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
               
              ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แคท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แคท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่มา  https://sites.google.com

สรุป การสอนภาษาอังกฤษนับเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมอื่น ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การหลักการออกเสียง การใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปสอนให้เด็กสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น