วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เนื้อหาที่ 5 ตัวอย่างและผลงาน


8 / 11 / 60
เรียนรู้เกี่ยวกับการทำสื่อคำศัพท์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้จักคำศัพท์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย



15/ 11 / 6
การเขียนแพทเทิร์นตัวอักษรภาษาอังกฤษ
ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้จักวิธีการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง




22 / 11 / 59

                         1. Do the A-Z. -finish in class
                         2. Write a mind mapping or chart about phonetic sounds
                    and give the examples.


                        3. List the order or command from your chosen book 

ความรู้ : รู้จักคำศัพท์มากขึ้น การออกเสียง phonetic

                    Write a mind mapping or chart about phonetic sounds and give the examples. 



List the order or command from your chosen book at least 10 words


a-z กลุ่ม hunters ได้ H I J K





                                                                            29 / 11 / 59

                                การแสดงประกอบท่าทางเพลง  The Wheels On The Bus และแสดงบทบาทเป็นครูสอนนักเรียนเกี่ยวกับเพลง The Wheels On The Bus 

ความรู้ : รู้จักเพลงที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและท่าเต้นที่น่ารัก

เต้นประกอบเพลง The Wheels On The Bus


                แสดงบทบาทเป็นครูสอนนักเรียนเกี่ยวกับเพลง The Wheels On The Bus 



6 / 12 / 59
ท่าเต้นประกอบเพลง PPAP
ความรู้ : การผสมคำศัพท์ ฝึกสมอง มีสมาธิกับสิ่งที่กำลังทำ





13 / 12 / 59
    1. นำเสนอ phonic ในแต่ละชุดคำศัพท์
2. สร้างคำศัพท์ จากเสียงของกลุ่มอื่น
ความรู้ : การผสมเสียงและออกมาเป็นเสียงใหม่






27 / 12 / 59
สร้างสือจากคำศัพท์ที่ได้รับ  คำศัพท์ที่มี -at -ip -est


ความรู้ : ได้ฝึกค้นความหาคำศัพท์ตามที่อาจารย์กำหนด








10 / 1 / 60
1. นำเสนอแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธ์ภาพ
                           2. ครูเลือกคำศัพท์มา 5 คน จากชุดคำศัพท์ ให้นักศึกษาแต่งเรื่องสั้น
เพื่่อให้ผู้เรียนหัดอ่าน
ความรู้ : รู้จักแนวการสอนใหม่ๆที่หลากหลาย และสามามารถนำมาปรับใช้ในการสอนระดับปฐมวัย



14 / 2 / 60
สอบสอนเรื่อง animal
ความรู้ : ฝึกประสบการในการสอน
















วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 4 เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆคนอยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นและใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน
      “ เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธีการซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้นถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอหรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำเด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก

      สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
      “ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลายด้าน

      “เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว
      ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
การส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      ปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อนเพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยากรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
      1.ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
      2.ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ

เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง

      3.ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
      4.ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
     
      5.ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
      6.ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
      7.ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล
                Jolly Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนในขณะเดียวกัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษร ผ่านการแสดงท่าทางด้วยสื่อหลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก
                เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ ได้มากมาย  การเรียนด้วยวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของเด็กๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น
สิ่งที่เด็กจะเรียนรู้
                - เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงผ่านการสอนแบบ Jolly Phonics ที่ทั้งสนุกและมีประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กอนุบาล
                - ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน ผ่านหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง หรือการทายคำศัพท์
                - เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และหลักการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องผ่านการฟังนิทานและเรื่องเล่าสำหรับเด็ก
                - สนุกสนานกับการเรียนภาษาอังกฤษในบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ
ผลจาการเรียนรู้
                - เกิดการพัฒนาทักษะทางการอ่านและการเขียนอย่างเป็นธรรมชาติ
                - ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นในการสื่อสาร โดยเฉพาะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
                - เพิ่มคลังคำศัพท์ให้มากขึ้น สามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอายุ 2 - 6 ปี

            เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนานจนไม่รู้ตัวเลยว่า พวกเขากำลังเรียนภาษาอังกฤษ! ที่ Helen Doron English เราเน้นการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายด้านอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กเล็กสามารถซึมซับสำเนียงภาษาอังกฤษ ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ และเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านเพลง การเคลื่อนไหว เกม รวมถึงการดูแลอย่างทะนุถนอม

Fun with Flupe สำหรับเด็กเล็ก อายุ 2 – 6 ปี

                Fun with Flupe ติดตามเรื่องราวการผจญภัยแสนสนุกของ Paul Ward ซึ่งกระโดดเข้าไปอยู่ในหนังสือนิทานของตัวเอง เพื่อช่วย Granny Fix และ Flupe ซ่อมแซมสิ่งของต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ผ่านบทกลอนภาษาอังกฤษที่ลงสัมผัสคำอย่างคล้องจอง เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ
                เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ หลักสูตรนี้ประกอบด้วยบทเพลงภาษาอังกฤษ 25 เพลง ในเนื้อหาทั้งหมด 12 ซีรี่ส์
หลักสูตรFun with Flupe เหมาะกับเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเรียน หรือเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลักสูตร Baby’s Best Start.

เด็กสนุกสนานไปกับ Flupe!


นำบทกลอนคล้องจองที่เด็กคุ้นเคยมาสอนภาษาอังกฤษ



ที่มา http://helendoronthailand.com/kids-2-6

สรุป การสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กปฐมวัยควรเริ่มสอนจากสิ่งที่ง่ายๆ อาจสอนจากสิ่งที่เด็กพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นประจำให้ ควรสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นหนังสือหรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน ทีละนิดๆ เพียงเท่านี้เด็กก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา พอเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเขา


วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


                เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธี การซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้น ถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอ หรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำ เด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก
                สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
                ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลาย ด้าน

                เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว
          ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
 ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/yushiva/2014/01/30/entry-8

          ภาษาอังกฤษนับวันนั้นสำคัญมากถึงกับเป็นเครื่องมือชี้วัดความสามารถในหน้าที่การงาน เป็นทั้งประตูเปิดโอกาสและสามารถกั้นความสำเร็จของเรา(ถ้าเราไม่มีทักษะทางภาษา)ได้เหมือนกัน
          ถ้าคุณเป็นผู้ปกครองสมัยใหม่คุณจะเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษยิ่งกว่าเลข ยิ่งกว่าวิทย์และคุณรู้ดีว่าควรเป็นสิ่งแรกๆที่ควรสอนลูกเล็กของคุณ
           เราจึงแนะนำวิธีการสอนภาษาที่ผู้ปกครองสามารถทำเองได้ที่บ้าน ฝึกตั้งแต่เด็กๆ เพราะสมองของเด็กเล็กเป็นเหมือนฟองน้ำซึมซับหมดทุกอย่างที่เทลงไป ถ้าเราเทของดีมีความรู้ให้ ลูกน้อยก็จะมีความพร้อมมากกว่าเพื่อนที่อายุเท่ากันอย่างมากมาย
           การเรียนภาษาก็เหมือนกับการลดความอ้วน เราต้องเปลี่ยนสภาวะแวดล้อม life style เพื่อรองรับทักษะใหม่นี้ คุณพ่อคุณแม่ที่ภาษาไม่เก่งไม่ต้องกลัวเพียงแค่เราเตรียมการเรียนรู้ภาษาให้ลูกเราจะค่อยๆเก่งขึ้นเอง
          สำเนียงไม่ต้องเป๊ะ คนที่สำเนียงดีต้องโตที่ต่างประเทศ เราสอนให้น้องออกเสียงคำให้ถูกต้องก็พอ เวลาน้องเข้าทำงานเค้าต้องการคนที่สื่อสารได้ไม่ใช่คนที่ออกเสียงเหมือนฝรั่ง ง่ายๆ คือ อย่าฝืนธรรมชาติเลย
                1.ลงทุนซื้อคอร์สวีดีโอเด็กเล็กไว้เลย คอร์สพวกนี้ถูกสร้างมาเพื่อสอนเด็กเล็กโดยเฉพาะ อย่าลืมนะว่าเด็กฝรั่งตอนเกิดมาเค้าก็ไม่รู้ภาษาเหมือนกัน เด็กทุกคนเรื่มจากศูนย์หมดถ้าเราให้ลูกเล็กไปเรียนที่สถาบัน ก็คงไม่พ้นคอร์สพวกนี้
                2.เปิดเพลงภาษาอังกฤษสำหรับเด็กให้ฟังบ่อยๆ อาจจะมีเพลงเฉพาะตอนเข้านอน หรือตอนแต่งตัวและสอนให้ลูกร้องตาม
                3.ไม่ควรพูดคำไทยแล้วแปลเป็นอังกฤษเพราะมันจะฝึกการแปลภาษาสองครั้ง ซึ่งเป็นการฝึกแบบไม่ใช่ธรรมชาติ  เมแนะนำให้ผู้ปกครองช่วยลูกเล็กให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของแทนคำพูด เช่น  ชี้เก้าอี้ อย่าพูดว่า “Chair เก้าอี้” แต่ให้พูดแค่ chair แล้วให้สมองของน้องทำความเข้าใจแทน เวลาน้องเห็นเก้าอี้น้องจะได้นึกถึง “chair” ไม่ใช่ .”chair เก้าอี้
                4.เวลาดูหนัง..ให้ดู Soundtrack ถึงแม้ว่าน้องอาจจะไม่อ่านแต่อย่างน้อยน้องจะได้ฟัง
                5.ซื้อหนังสือหรือแม็กกาซีนที่น้องชอบแต่เป็นภาษาอังกฤษทุกอย่างที่เด็กทำมาจากความชอบ น้องชอบอะไร ส่งเสริม แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษ
                6.ห้ามสั่งคำศัพท์ให้ท่อง ท่องไม่ได้โดนตีหรืออดขนม เพราะมันจะเป็นการสร้างทัศนคติที่ไม่ดีต่อภาษาจนน้องโตเป็นผู้ใหญ่เลยนะ 
 ที่มา http://www.fmcpenglish.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B9%83%E0%B8%AB/

กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
                 1. ฝึกเด็กให้รู้จักสังเกตคำที่ปรากฏทั่วไป ชี้ให้ดูพยัญชนะ คำภาษาอังกฤษจากโทรทัศน์ สิ่งของเครื่องใช้ คำ โฆษณา หนังสือพิมพ์ และศัพท์ที่ปรากฏทั่วไป ผู้ปกครองต้องชี้ อ่านให้เด็กฟัง พร้อมแปล แล้วให้เด็กลองออกเสียง อาจร้อง เป็นทำนอง เด็กจะสนุกและเกิดการเรียนโดยอัตโนมัติ ขณะนั่งรถไปตามทางจงใช้โอกาสว่างระหว่างนั่งรถในการสอนภาษาอังกฤษกับเด็กทุกครั้ง เพราะเด็กกำลังตื่นตัวกับประสบการณ์ข้างทาง 
                2. อ่านให้ฟัง นิทานกับเด็กเป็นของคู่กัน เด็กชอบฟังนิทานและเรียนรู้หลายอย่างจากนิทาน ผู้ปกครองควรอ่านนิทานเป็นภาษาอังกฤษและแปลเป็นไทยให้เด็กฟัง การฟังเป็นประจำทุกวันจะทำให้เด็กจำได้ สนุกทั้งนิทาน และได้เรียนรู้ทั้งภาษาอังกฤษ เวลาเล่านิทานที่เหมาะมาก คือ ก่อนนอน ควรอ่านเรื่องซ้ำ ๆ เด็กไม่เบื่อที่จะฟังนิทานซ้ำเรื่อง โดยเฉพาะ เรื่องที่ประทับใจ การอ่านซ้ำ การเล่าซ้ำจะทำให้เด็กจำเรื่อง จำศัพท์ จำประโยคและสำนวนภาษาเก็บไว้ในใจลึก ๆ ได้ ประการสำคัญเมื่อเล่านิทานจบลง ควรทบทวนศัพท์สัก 2 - 3 คำก่อนจะเลิกเล่า แต่ถ้าเล่าแล้วเด็กหลับไปก่อน ไม่เป็นไร อาจถามทบทวนในวันใหม่ได้ การได้ฟังได้พูดซ้ำ ๆ หลายครั้งเด็กจะจำศัพท์ได้ดี ศัพท์ที่ทวนควรเป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เด็ก เช่น เล่าเรื่อง หนูกับราชสีห์ ศัพท์ที่ทวน ได้แก่ Rat, Lion, Tree ไม่ใช่ relation, meet ซึ่งไกลประสบการณ์เด็กเว้นแต่คุ้นกับคำง่ายแล้ว จึงเพิ่มเติมคำไกลตัว ข้อสำคัญอย่าสอนสะกดคำหรือคาดคั้นให้เด็กท่องศัพท์ เด็กจะเครียดและเกลียดภาษาอังกฤษในที่สุด เด็กอาจท่องตามท่านเป็นนกแก้ว นกขุนทอง เด็กจะฝังความรู้สึกความไม่ชอบอยู่ภายใน จงให้เด็กได้เรียนแบบสนุก เรียนปนเล่นเหมือน คำว่า Plearn (เพลิน) Play + learn ของศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ สมุทรวานิช เด็กจะเรียนรู้และจำได้อย่างมีความสุข 
                3.สร้างความคุ้นเคยด้วยการใช้บทสนทนา ทักทายอย่างง่ายเป็นประจำ เมื่อพบเด็ก เช่น 
                    Good morning, How are you? 
                    What is your name? 
                    Where are you going? 
 ควรถามซ้ำ ๆ การถามซ้ำทำให้จำได้แล้วจึงขยายประโยคต่อไป จากคำตอบนี้ต้องการบอกให้ผู้ปกครองทราบว่าไม่ต้องหาโรงเรียนให้ยุ่งยากใจ ผู้ปกครองสามารถสอนเองได้ สอนที่บ้าน สอนขณะเดินทาง สอนด้วยตนเอง ไม่ช้าเกินไปในการเรียนภาษาอังกฤษ ถ้าผู้ปกครองใส่ใจ แม้เด็กจะเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีการสอนภาษาอังกฤษเลยก็ตาม 
 ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=98

สรุป การสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กปฐมวัยควรเริ่มสอนจากสิ่งที่ง่ายๆ อาจสอนจากสิ่งที่เด็กพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นประจำให้ ควรสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นหนังสือหรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน ทีละนิดๆ เพียงเท่านี้เด็กก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา พอเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเขา



วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 2 ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย


1.หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย 

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
                1. ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
                2. ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ
เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง
                 3.  ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
               4.  ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง
โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
               5.  ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
              6.  ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
                7.  ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก
                8. ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลาย ด้าน

ที่มา  http://oknation.nationtv.tv/blog/yushiva/2014/01/30/entry-8





2. ความหมาย ประโยชน์ ของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

ความหมาย
                ภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัยเป็นการเรียนรู้วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ครูควรจัดการเรียนให้เด็กสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และ พัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา คือ เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ


ประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เราได้ทราบถึงการใช้ภาษาในการพูดและการเขียนและหลักในการใช้คำในการอ่านและการพูด ทำให้สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
๑. ทักษะการใช้ภาษา
๒. ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ
๓. การอ่าน และการฟัง

ที่มา   http://amonrat220.blogspot.com/2016/05/1.html
           http://pratumwai53.blogspot.com/2012/12/blog-post_28.html





3.  ความสำคัญของภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย
               
              ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว มนุษยชาติทุกวันนี้สื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกันโดยตรง การใช้อินเตอร์เน็ต การดูทีวี การดูภาพยนตร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือคู่มือทางด้านวิชาการต่างๆ ฯลฯ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาออกมาในปัจจุบัน ถ้ามีความรู้ภาษาอังกฤษทั้งพูดและเขียนเสริมเข้าไปด้วยอีก โอกาสที่จะหางานก็จะไม่จำกัดแค่ในประเทศไทย เท่านั้น ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ท่านคงจะไม่ปฏิเสธได้ถึงสิทธิพิเศษที่ท่านมีเหนือคนอื่นที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้โลกของเราแคบลงไปถนัดตา ทุกวันนี้ท่านสามารถรับรู้ข่าวสาร หรือติดต่อกับเพื่อนต่างชาติได้ภายในเสี้ยววินาที ท่านจะไม่เข้าถึงสิทธิพิเศษเหล่านี้เลย ถ้าท่านไม่รู้ภาษาอังกฤษ ระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนของไทยหลายท่านอาจจะบอกว่า ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมคนไทยถึงพูดภาษาอังกฤษสู้คนฟิลิปปินส์ไม่ได้เลย นั่นก็เพราะว่าหลักสูตรภาษาอังกฤษของกระทรวงศึกษาธิการของเรายังไม่ได้เน้นการพูดภาษาอังกฤษ จะเน้นแต่หลักไวยากรณ์ คำแปล และการอ่านเพื่อความเข้าใจและให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่จะต้องปรับปรุงอย่างมากในระบบการเรียนภาษาอังกฤษของไทยเราคือ การเน้นการพูดออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัว การเน้นเสียงหนักเบา ซึ่งจะต้องมีสื่อช่วยสอนที่เป็นมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพ เสียง และตัวหนังสือ ให้ด้วย แทนระบบเก่าที่มีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น ทำให้การออกเสียงตามคำอ่านที่เขียนในตำราหรือพจนานุกรมที่ผิดๆ เช่นคำว่า cat ในพจนานุกรมอังกฤษไทยจะเขียนคำอ่านเป็น แคท ซึ่งแปลมาจากคำอ่านพจนานุกรมอังกฤษเป็นอังกฤษ ทำให้คนไทยเข้าใจว่า ไม่ต้องออกเสียงตัว t ที่อยู่ตอนท้ายด้วย น่าจะเขียนคำอ่านเป็น แคท-ถึ (ออกเสียง ถึ เบาๆ) แต่ถ้าเราจัดทำสื่อการเรียนการสอนแบบมัลติมีเดีย เด็กก็จะได้ยินทั้งเสียงที่ถูกต้อง ได้เห็นภาพ และตัวหนังสือด้วย ซึ่งทำได้ไม่ยาก และต้นทุนก็ไม่มาก การเรียนของเด็กก็จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่มา  https://sites.google.com

สรุป การสอนภาษาอังกฤษนับเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เด็กใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคนต่างชาติต่างวัฒนธรรมอื่น ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องเรียนรู้การหลักการออกเสียง การใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปสอนให้เด็กสามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ