วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เนื้อหาที่ 4 เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


เทคนิคการจัดกิจกรรมโดยใช้ภาษาอังกฤษให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
                ในยุคที่ภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตของคนไทยมากขึ้น เชื่อว่า พ่อแม่ทุกๆคนอยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นและใช้ได้ดี แต่การจะพัฒนาทักษะทางภาษาให้ลูกอย่างได้ผลนั้น หลายๆท่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะให้ลูกเริ่มเรียนเมื่อไรถึงจะใช้ได้ดี และใช้ได้เป็น วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากสถาบันสอนภาษาพิงกุมาฝากเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่านกัน
      “ เด็กวัยนี้เรียนรู้ด้วยวิธีการซึมซับจากตัวแบบ ดังนั้นถ้าครูพูดภาษาอังกฤษกับเด็กในชั้นเรียนสม่ำเสมอหรือคุณพ่อคุณแม่พูดภาษาอังกฤษที่บ้านเป็นประจำเด็กก็จะเรียนรู้และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีได้ไม่ยาก

      สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยท่านนี้ บอกว่า เด็กต้องสนุกกับการเรียน เช่น คุณครูใช้สื่อการสอนหลากหลายชนิด จัดรูปแบบกิจกรรมให้เด็กมีทางเลือก และพัฒนาความฉลาดที่หลากหลายตามแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อการสอน กับครู กับเพื่อนๆในชั้นเรียนตลอดเวลา ไม่มีการท่องศัพท์ ไม่มีความเครียด มีแต่ความสนุกสนาน
      “ทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทฤษฎีทางปัญญา ที่เชื่อว่า คนเราแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาหลากหลาย มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านภาษา ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านการรู้จักตนเอง ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเข้าใจธรรมชาติ ซึ่งครูสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์เพื่อจัดกิจกรรมให้เด็กพัฒนาปัญญาได้หลายด้าน

      “เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ่อแม่ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตามวัยที่เหมาะสม และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน แต่ไม่ควรคาดหวังการเรียนรู้ของเด็กสูงเกินไป เพียงแต่ให้เด็กได้ทำความรู้จักกับภาษา เกิดความชอบ ความคุ้นเคย เรียนอย่างสนุกสนาน และอยากไปโรงเรียน เท่านี้ก็เพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว
      ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล  ตั้งแต่เอบีซี มีแบบฝึกคัดพยัญชนะ A-Z เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อักษรภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งคำศัพท์ที่ควรเรียนรู้เป็นเบื้องต้น การเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล ควรเน้นที่คำศัพท์พื้นฐาน และประโยคง่ายๆ ก็พอครับ สังเกตจากการเรียนรู้ภาษาของเด็กๆจะเริ่มจากคำศัพท์ก่อนเป็นเบื้องต้น ตามด้วยวลีง่ายๆ และประโยคสมบูรณ์ท้ายที่สุด
การส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
      ปฐมวัยเรียนรู้ภาษาจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวทั้งสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และโรงเรียน เด็กจะเรียนรู้การฟังและการพูดก่อนเพราะการฟังและการพูดเป็นของคู่กัน เป็นพื้นฐานทางภาษา กล่าวคือ เมื่อฟังแล้วก็ย่อมต้องพูดสนทนาโต้ตอบได้ การเรียนภาษาของเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ หรือตามหลักไวยากรณ์ แต่จะเป็นการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือเป็นการสอนแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา
      1.ทฤษฎีความพึงพอใจแห่งตน (The Autism Theory หรือ Austistic Theory) ทฤษฎีนี้ถือว่า การเรียนรู้การพูดของเด็กเกิดจากการเลียนเสียงอันเนื่องจากความพึงพอใจที่ได้กระทำเช่นนั้น โมว์เรอร์ (Mower) เชื่อว่า ความสามารถในการฟัง และความเพลิดเพลินกับการได้ยินเสียงของผู้อื่นและตนเองเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการทางภาษา
      2.ทฤษฎีการเลียนแบบ (The Imitation Theory) เลวิส (Lawis) ได้ศึกษาและ

เชื่อ ว่า พัฒนาการทางภาษานั้นเกิดจากการเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการมองเห็นหรือการได้ยินเสียง การเลียนแบบของเด็กเกิดจากความพอใจ และความสนใจของตัวเด็กเอง ปกติช่วงความสนใจของเด็กนั้นสั้นมากเพื่อที่จะชดเชยเด็กจึงต้องมีสิ่งเร้าซ้ำ ๆ กัน การศึกษากระบวนการในการเลียนแบบภาษาพูดของเด็กพบว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เลียนแบบเสียงของเด็กในระยะเล่นเสียงหรือในระยะที่เด็กกำลังเรียนรู้การออกเสียง

      3.ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement Theory) ทฤษฎีนี้อาศัยจากหลักทฤษฎีการ เรียนรู้ซึ่งถือว่าพฤติกรรมทั้งหลายถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการวางเงื่อนไข ไรน์โกลต์ (Rhiengold) และคณะได้ศึกษาพบว่าเด็กจะพูดมากขึ้นเมื่อได้รางวัล หรือได้รับการเสริมแรง
      4.ทฤษฎีการรับรู้ (Motor Theory of Perception) ลิเบอร์แมน (Liberman) ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การรับรู้ทางการฟังขึ้นอยู่กับการเปล่งเสียง จึงเห็นได้ว่า เด็กมักจ้องหน้าเวลาเราพูดด้วย การทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะเด็กฟัง และพูดซ้ำกับตัวเอง หรือหัดเปล่งเสียง โดยอาศัยการอ่านริมฝีปาก แล้วจึงเรียนรู้คำ
     
      5.ทฤษฎีความบังเอิญจากการเล่นเสียง (Babble Buck) ซึ่งธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้คิดโดยอธิบายว่า เมื่อเด็กกำลังเล่นเสียงอยู่นั้น เผอิญมีเสียงบางเสียงไปคล้ายกับเสียงที่มีความหมาย ในภาษาพูดของพ่อแม่ พ่อแม่จึงให้การเสริมแรงทันที ด้วยวิธีนี้จึงทำให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
      6.ทฤษฎีชีววิทยา (Biological Theory) เล็นเบิร์ก (Lenneberg) เชื่อว่า พัฒนาการทางภาษามีพื้นฐานทางชีววิทยาเป็นสำคัญ กระบวนการที่คนพูดได้ขึ้นอยู่กับอวัยวะในการเปล่งเสียง เด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ และพูดได้ตามลำดับ
      7.ทฤษฎีการให้รางวัลของพ่อแม่ (Mother Reward Theory) ดอลลาร์ด (Dollard) และมิลเลอร์ (Miller) เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ โดยย้ำเกี่ยวกับบทบาทของแม่ในการพัฒนาภาษาของเด็กว่า ภาษาที่แม่ใช้ในการเลี้ยงดูเพื่อเสนอความต้องการของลูกนั้น เป็นอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาษาพูดแก่ลูก

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล
                Jolly Phonics คือ วิธีการสอนภาษาอังกฤษให้เด็กๆ สามารถออกเสียง อ่านออกและเขียนได้ อย่างมีประสิทธิภาพและสนุกสนานกับการเรียนในขณะเดียวกัน ระบบการสอนนี้จะเน้นให้เด็กๆ เรียนรู้เสียงของตัวอักษร ผ่านการแสดงท่าทางด้วยสื่อหลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของสมองอย่างเป็นระบบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เด็กๆ จะสามารถอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ยังเล็ก
                เด็กๆ จะได้เรียนรู้เสียงของตัวอักษรต่างๆ ซึ่งสามารถเปล่งเสียงออกมาได้แตกต่างกัน 42 เสียง จากการแสดงท่าทางประกอบเรื่องราวหรือนิทานที่น่าสนใจ ทำให้เด็กๆ สนุกไปกับการเรียนและสามารถจดจำเสียงของตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ทั้งนี้เด็กๆ ยังจะได้เรียนรู้การผสมเสียงเพื่อสร้างเป็นคำต่างๆ ได้มากมาย  การเรียนด้วยวิธีการนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของเด็กๆ ได้ในระยะเวลาอันสั้น
สิ่งที่เด็กจะเรียนรู้
                - เรียนรู้การอ่าน เขียน และการออกเสียงผ่านการสอนแบบ Jolly Phonics ที่ทั้งสนุกและมีประสิทธิภาพต่อการกระตุ้นการเรียนรู้ทางภาษาของเด็กอนุบาล
                - ฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างสนุกสนาน ผ่านหลากหลายกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น การเล่นเกมส์ การร้องเพลง หรือการทายคำศัพท์
                - เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และหลักการใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้องผ่านการฟังนิทานและเรื่องเล่าสำหรับเด็ก
                - สนุกสนานกับการเรียนภาษาอังกฤษในบรรยากาศที่เป็นมิตร เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ของเด็กๆ
ผลจาการเรียนรู้
                - เกิดการพัฒนาทักษะทางการอ่านและการเขียนอย่างเป็นธรรมชาติ
                - ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นในการสื่อสาร โดยเฉพาะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ
                - เพิ่มคลังคำศัพท์ให้มากขึ้น สามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอายุ 2 - 6 ปี

            เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนานจนไม่รู้ตัวเลยว่า พวกเขากำลังเรียนภาษาอังกฤษ! ที่ Helen Doron English เราเน้นการกระตุ้นประสาทสัมผัสหลายด้านอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กเล็กสามารถซึมซับสำเนียงภาษาอังกฤษ ฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ และเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านเพลง การเคลื่อนไหว เกม รวมถึงการดูแลอย่างทะนุถนอม

Fun with Flupe สำหรับเด็กเล็ก อายุ 2 – 6 ปี

                Fun with Flupe ติดตามเรื่องราวการผจญภัยแสนสนุกของ Paul Ward ซึ่งกระโดดเข้าไปอยู่ในหนังสือนิทานของตัวเอง เพื่อช่วย Granny Fix และ Flupe ซ่อมแซมสิ่งของต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ผ่านบทกลอนภาษาอังกฤษที่ลงสัมผัสคำอย่างคล้องจอง เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ
                เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 660 คำ การออกเสียงที่ถูกต้อง โครงสร้างพื้นฐานของรูปประโยคภาษาอังกฤษ หลักสูตรนี้ประกอบด้วยบทเพลงภาษาอังกฤษ 25 เพลง ในเนื้อหาทั้งหมด 12 ซีรี่ส์
หลักสูตรFun with Flupe เหมาะกับเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเรียน หรือเป็นหลักสูตรต่อเนื่องจากหลักสูตร Baby’s Best Start.

เด็กสนุกสนานไปกับ Flupe!


นำบทกลอนคล้องจองที่เด็กคุ้นเคยมาสอนภาษาอังกฤษ



ที่มา http://helendoronthailand.com/kids-2-6

สรุป การสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นให้กับเด็กปฐมวัยควรเริ่มสอนจากสิ่งที่ง่ายๆ อาจสอนจากสิ่งที่เด็กพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นประจำให้ ควรสอนให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ เห็นหนังสือหรือได้ยินภาษาอังกฤษแล้วจะไม่กลัว ไม่กังวล แต่รู้สึกคุ้นเคยแทน ทีละนิดๆ เพียงเท่านี้เด็กก็จะเริ่มสะสมนิสัยการรักภาษา พอเข้าเรียนภาษาจะเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับเขา


36 ความคิดเห็น:

  1. คำตอบ
    1. แก้ไขเรียนร้อยแล้วค่าาาา

      ลบ
  2. ชื่นชอบเนื้อหาที่ลงให้อ่านนะคะ โดยเฉพาะเรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา

    ตอบลบ